เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โครงการฟื้นหัวเวียงน่าน ผ่านมือหมู่เฮา ได้จัดเวทีประชาคมครั้งที่ 1 ขึ้น โดยนายพงษ์สิน ทวีเพชร หัวหน้าโครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยในภูมิภาค ชุมชนเมืองน่าน กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมครั้งที่ 1 เพื่อระดมความคิดเห็นของชาวน่านและชาวชุมชนหัวเวียงใต้ และนำความคิดเห็นและข้อสรุปที่ได้ไปพัฒนาร่างผังแนวคิดและแผนการการฟื้นฟูเมืองน่านย่านหัวเวียงใต้ที่เหมาะสม

จากนั้น นายชัยวัฒน์ บูรพาวิจิตรนนท์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับคณะผู้วิจัย คณะผู้บริหารจากส่วนราชการต่างๆ ภาคประชาสังคม และชาวชุมชนเมืองน่านที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยในภูมิภาค ชุมชนเมืองน่าน ซึ่งการเคหะแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ จัดขึ้น การประชุมครั้งนี้จึงต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ช่วยแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนและสามารถนำไปทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เมืองน่านโดยเฉพาะชุมชนหัวเวียงใต้ได้รับประโยชน์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ

หลังจากนั้น นายพงษ์สิน ทวีเพชร นำเสนอความเป็นมาของโครงการซึ่งต่อเนื่องจากโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมือง แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดระดับพื้นที่ จังหวัดน่าน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 และเกิดผลรูปธรรมโดยทีมวิจัยได้ผลักดันเรื่องที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้าน สถารศให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ดำเนินการต่อในนามโครงการบ้านมั่นคง นอกจากนี้ มีข้อเสนอที่ชุมชนเมืองน่านเห็นด้วยคืองานฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมชุมชนหัวเวียงใต้ รวมถึงการแก้ปัญหาการบุกรุกแนวกำแพงเมืองในชุมชนภูมินทร์ท่าลี่และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยแผนทั้งสามได้ส่งมอบให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งกคช.ได้ให้เห็นความสำคัญกับเมืองน่านว่าเป็นเมืองที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะมีความสำคัญเชิงวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นเมืองที่เหมาะสมจะพัฒนาเป็นเมืองที่อยู่อาศัยเชิงคุณภาพ ดังนั้น การเคหะแห่งชาติในส่วนของกองฟื้นฟูเมืองจึงได้คิดพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยเพื่อให้ชุมชนเมืองน่านคิดเรื่องการทำแผนและทำผังกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
สาเหตุที่เลือกชุมชนหัวเวียงใต้นอกจากได้เคยเสนอไปแล้วในโครงการก่อนหน้านี้ในชื่อ แผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรม และแผนที่สองคือการจัดทำแผนป้องกันอัคคีภัยเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีอาคารไม้ อายุ 30-40 ปีขึ้นไป รวมทั้งปัญหาเรื่องน้ำท่วม และแผนพัฒนาที่ว่างสาธารณะและพื้นที่สีเขียวของชุมชนที่ขาดหายไป เมื่อเทียบความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตใจเมืองน่านแล้ว ยังพบว่าชุมชนหัวเวียงใต้เป็นพื้นที่กันชนและเชื่อมต่อกับพื้นที่หัวแหวนใจกลางเมืองน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็นคุ้มบ้านเก่า วัด โบราณสถาน กำแพง คูน้ำ คันดิน รวมทั้งความเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของชุมชนหัวเวียงใต้แห่งนี้

ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้รับฟังแนวคิดและองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมือง/ย่าน จาก คุณสาวิตรี ณ หงษา นักวิจัยในโครงการซึ่งเป็นลูกหลานชาวหัวเวียงใต้โดยกำเนิด พร้อมกับนำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเปิดมุมมองด้านการฟื้นฟูเมืองให้กับชาวเมืองน่าน
หลังจากนั้น เป็นเวทีระดมความเห็น “ฟื้นหัวเวียงน่าน ผ่านมือหมู่เฮา” เพื่อค้นหาว่า อะไร คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำการฟื้นฟูมากที่สุดในชุมชนหัวเวียงใต้ เพราะเหตุใด หากทำการฟื้นฟูแล้ว ใครคือผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟู มีพื้นที่ใดเป็น พื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งการระดมความคิดเห็นถึง แนวทางที่จะทำให้การฟื้นฟูนั้นเป็นจริงได้ โดยการตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมว่าแต่ละท่านจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูนั้นได้อย่างไร กลุ่มคนหรือหน่วยงานใดที่ต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง และอะไรบ้างคือสิ่งที่กลุ่มคนหรือหน่วยงานนั้นๆ จะให้ความช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ กำลังคน วัสดุอุปกรณ์ หรืองบประมาณ ฯลฯ ผลการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทั้ง 4กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามคุณลักษณะความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องภายในย่านชุมชนหัวเวียงใต้ มีดังนี้
กลุ่ม 1 ผู้พักอาศัย ภาคประชาชน


กลุ่ม 2 ผู้ประกอบการ ร้านค้า ภาคธุรกิจ


กลุ่ม 3 ประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน


กลุ่ม 4 ราชการ องค์กรส่วนท้องถิ่น


สมาชิกทั้ง 4 กลุ่มได้ร่วมแสดงความเห็นและหารือแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่สมควรได้รับการฟื้นฟูมากที่สุดในชุมชนหัวเวียงใต้ ผลปรากฏว่า สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต่างให้ความสำคัญมากที่สุดประกอบด้วย 4 โครงการต่อไปนี้
1.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์
2.โครงการฟื้นฟูย่านการค้า
3.โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารที่มีเอกลักษณ์
4.โครงการจัดระบบการจราจรและที่จอดรถ

ข้อสรุปจากเวทีประชาคมยังถูกนำไปสร้างความเข้าใจให้แจ่มชัดยิ่งขึ้นในวันถัดมา เมื่อหัวหน้าบ้านและตัวแทนชุมชนหัวเวียงใต้ ภาคประชาสังคม รวมทั้งนายกเทศมนตรีเมืองน่านได้เข้าร่วมประชุมหารือกับทีมวิจัยและคณะจากการเคหะแห่งชาติที่วิหารวัดหัวเวียงใต้ต่อ โดยท่านเจ้าอาวาสได้มาเป็นประธานการประชุมและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ชาวชุมชนหัวเวียงใต้ ทำให้แต่ละท่านเห็นเป้าหมายในทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยกระบวนการค้นหาตัวเองและความเป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ อาศัยการทำงานอย่างเป็นบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเมืองน่านอย่างเป็นรูปธรรม


จากนั้น นายชัยวัฒน์ บูรพาวิจิตรนนท์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับคณะผู้วิจัย คณะผู้บริหารจากส่วนราชการต่างๆ ภาคประชาสังคม และชาวชุมชนเมืองน่านที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยในภูมิภาค ชุมชนเมืองน่าน ซึ่งการเคหะแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ จัดขึ้น การประชุมครั้งนี้จึงต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ช่วยแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนและสามารถนำไปทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เมืองน่านโดยเฉพาะชุมชนหัวเวียงใต้ได้รับประโยชน์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ
หลังจากนั้น นายพงษ์สิน ทวีเพชร นำเสนอความเป็นมาของโครงการซึ่งต่อเนื่องจากโครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมือง แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดระดับพื้นที่ จังหวัดน่าน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 และเกิดผลรูปธรรมโดยทีมวิจัยได้ผลักดันเรื่องที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้าน สถารศให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ดำเนินการต่อในนามโครงการบ้านมั่นคง นอกจากนี้ มีข้อเสนอที่ชุมชนเมืองน่านเห็นด้วยคืองานฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมชุมชนหัวเวียงใต้ รวมถึงการแก้ปัญหาการบุกรุกแนวกำแพงเมืองในชุมชนภูมินทร์ท่าลี่และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยแผนทั้งสามได้ส่งมอบให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งกคช.ได้ให้เห็นความสำคัญกับเมืองน่านว่าเป็นเมืองที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะมีความสำคัญเชิงวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นเมืองที่เหมาะสมจะพัฒนาเป็นเมืองที่อยู่อาศัยเชิงคุณภาพ ดังนั้น การเคหะแห่งชาติในส่วนของกองฟื้นฟูเมืองจึงได้คิดพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองการอยู่อาศัยเพื่อให้ชุมชนเมืองน่านคิดเรื่องการทำแผนและทำผังกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
สาเหตุที่เลือกชุมชนหัวเวียงใต้นอกจากได้เคยเสนอไปแล้วในโครงการก่อนหน้านี้ในชื่อ แผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรม และแผนที่สองคือการจัดทำแผนป้องกันอัคคีภัยเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีอาคารไม้ อายุ 30-40 ปีขึ้นไป รวมทั้งปัญหาเรื่องน้ำท่วม และแผนพัฒนาที่ว่างสาธารณะและพื้นที่สีเขียวของชุมชนที่ขาดหายไป เมื่อเทียบความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตใจเมืองน่านแล้ว ยังพบว่าชุมชนหัวเวียงใต้เป็นพื้นที่กันชนและเชื่อมต่อกับพื้นที่หัวแหวนใจกลางเมืองน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ ไม่ว่าจะเป็นคุ้มบ้านเก่า วัด โบราณสถาน กำแพง คูน้ำ คันดิน รวมทั้งความเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของชุมชนหัวเวียงใต้แห่งนี้
ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้รับฟังแนวคิดและองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมือง/ย่าน จาก คุณสาวิตรี ณ หงษา นักวิจัยในโครงการซึ่งเป็นลูกหลานชาวหัวเวียงใต้โดยกำเนิด พร้อมกับนำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเปิดมุมมองด้านการฟื้นฟูเมืองให้กับชาวเมืองน่าน
หลังจากนั้น เป็นเวทีระดมความเห็น “ฟื้นหัวเวียงน่าน ผ่านมือหมู่เฮา” เพื่อค้นหาว่า อะไร คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำการฟื้นฟูมากที่สุดในชุมชนหัวเวียงใต้ เพราะเหตุใด หากทำการฟื้นฟูแล้ว ใครคือผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟู มีพื้นที่ใดเป็น พื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งการระดมความคิดเห็นถึง แนวทางที่จะทำให้การฟื้นฟูนั้นเป็นจริงได้ โดยการตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมว่าแต่ละท่านจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูนั้นได้อย่างไร กลุ่มคนหรือหน่วยงานใดที่ต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง และอะไรบ้างคือสิ่งที่กลุ่มคนหรือหน่วยงานนั้นๆ จะให้ความช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ กำลังคน วัสดุอุปกรณ์ หรืองบประมาณ ฯลฯ ผลการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทั้ง 4กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามคุณลักษณะความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องภายในย่านชุมชนหัวเวียงใต้ มีดังนี้
กลุ่ม 1 ผู้พักอาศัย ภาคประชาชน
กลุ่ม 2 ผู้ประกอบการ ร้านค้า ภาคธุรกิจ
กลุ่ม 3 ประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน
กลุ่ม 4 ราชการ องค์กรส่วนท้องถิ่น
สมาชิกทั้ง 4 กลุ่มได้ร่วมแสดงความเห็นและหารือแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่สมควรได้รับการฟื้นฟูมากที่สุดในชุมชนหัวเวียงใต้ ผลปรากฏว่า สิ่งที่ผู้เข้าร่วมต่างให้ความสำคัญมากที่สุดประกอบด้วย 4 โครงการต่อไปนี้
1.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์
2.โครงการฟื้นฟูย่านการค้า
3.โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารที่มีเอกลักษณ์
4.โครงการจัดระบบการจราจรและที่จอดรถ
ข้อสรุปจากเวทีประชาคมยังถูกนำไปสร้างความเข้าใจให้แจ่มชัดยิ่งขึ้นในวันถัดมา เมื่อหัวหน้าบ้านและตัวแทนชุมชนหัวเวียงใต้ ภาคประชาสังคม รวมทั้งนายกเทศมนตรีเมืองน่านได้เข้าร่วมประชุมหารือกับทีมวิจัยและคณะจากการเคหะแห่งชาติที่วิหารวัดหัวเวียงใต้ต่อ โดยท่านเจ้าอาวาสได้มาเป็นประธานการประชุมและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ชาวชุมชนหัวเวียงใต้ ทำให้แต่ละท่านเห็นเป้าหมายในทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยกระบวนการค้นหาตัวเองและความเป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ อาศัยการทำงานอย่างเป็นบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเมืองน่านอย่างเป็นรูปธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น